วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

นกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้ นกวงศ์นี้มีถิ่นอาศัย อยู่แถบเอเชีย ในกลุ่มประเทศ ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง
นกกรงหัวจุกนั้น ทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว และสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคใต้ ก็ว่าได้เหตุนี้เอง เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปที่ จ.ยะลา จึงเห็นมีกรงนกหัวจุกแขวนตามบ้านเรือนประชาชนแทบทุกบ้าน บ้างก็หิ้วขึ้นจักรยานไปด้วย บ้างหิ้วไปกินกาแฟ แบกกันไปทั้งกรงอย่างนั้นแหละ สอบถามชาวบ้านได้ความว่า เพื่อให้นกเคยชินกับคน ไม่ตื่นกลัว

ตำนานนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุกที่เราๆ ท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่มได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิน มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตำใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยจะมีการนำนกกรงหัวจุกมาแข่งขันประชันเสียงเพลงซึ่งดูที่ลีลาการร้องของสำนวนเสียงในนกแ

รู้จักกับนกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จะกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในเคหะสถานบ้านช่อง อีกทั้งยังเป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
นกปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกัน 36 ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด โดย
นกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวนเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน หรือตามพื้นที่เกษตรกรรมนกปรอดหัวโขนมีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่คนไม่ค่อยคุ้นหูนัก โดยจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้เรียกว่านกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่านกปริ๊ดเหลวหรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่านกปรอทหัวจุกหรือปรอทหัวโขน ต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่ รู้จักกับนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จะกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในเคหะสถานบ้านช่อง อีกทั้งยังเป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
นกปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกัน 36 ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด โดย
นกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวนเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน หรือตามพื้นที่เกษตรกรรมนกปรอดหัวโขนมีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่คนไม่ค่อยคุ้นหูนัก โดยจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้เรียกว่านกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่านกปริ๊ดเหลวหรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่านกปรอทหัวจุกหรือปรอทหัวโขน กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว

วิธีการดูแลนกกรงหัวจุก
อาหาร
ในตอนเช้า เปิดผ้าคลุมกรงนกออก แล้วเปลี่ยนอาหารให้นกกินใหม่ โดยการผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบ ออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงลุกก็ให้ทั้งลูกเลย การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจจะไม่ต้องให้ทุกวัน
สังเกตดูขี้นก
ในตอนเช้า เมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำ แสดงว่านกเป็นปกติ แต่ถ้าขี้นกเป็นขี้เหลว หรือขี้เป็นน้ำ ก็แสดงว่านกเป็นโรคต้องรีบรักษาทันที

น้ำ
ให้เอาน้ำเก่าทิ้งไป แล้วเอาน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรก
นำนกกรงหัวจุกไปตากแดด
ในตอนเช้าผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะต้องรู้วิธีการยกกรงนกไปแขวน โดยมีวิธีการยกคือ มือหนึ่งจะต้องหิ้วที่ตะขอกรงนก เมื่อไปถึงชายคาบ้าน หรือราวที่จะแขวนกรงนก หรือกิ่งไม้ หรือราวที่ฝึกซ้อม และราวที่จะแขวนนกประกวดแข่งขันแล้ว ก็ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มุมกรงมุมใดมุมหนึ่งที่เป็นเสากรง เพราะซี่ลูกกรงจะบอบบางไม่แข็งแรงและหัดได้ จากนั้นก็ยกกรงนกขึ้นชู โดยดูที่ตะขอแขวนนกว่าตรงกับที่แขวนหรือราวแล้วหรือยัง ถ้าตรงกบที่แขวนและราวแล้ว ก็ให้ปล่อยมือลง
ข้อควรระวัง อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมาก ซึ่งนกที่มีอายุมากจะข่มขู่นกที่มีอายุน้อยกว่า เพราะนกสามารถจะจำเสียงได้ และจะตื่นแล้วการที่จะนำนกไปแขวนไว้นี้ เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง จนถึงตอนบ่าย จึงจะเก็บนกไว้ในที่ร่มต่อไป ถ้าเป็นลูกนกและนกหนุ่ม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กว่าจะประกวดเสร็จ เพราะนกต้องตากแดดตลอดเวลาการประกวด

เก็บนกไว้ในที่ร่ม
หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ให้ทำความสะอาดกรง และอื่นๆ ดังนี้
1. ทำความสะอาดกรงนก โดยเปลี่ยนตัวนกกรงหัวจุกไปไว้กรงอื่นเป็นการสอนนกไม่ให้เลือกกรงและเคยชินต่อการเปลี่ยนกรง จากนั้นก็ให้ทำความสะอาดกรงนกที่เห็นว่าสกปรก ถ้ากรงนกสะอาดดีแล้วก็ไม่ต้องทำความสะอาด
2. ทำความสะอาดตะขอที่เกี่ยวอาหาร
3. ทำความสะอาดถ้วยใส่น้ำ
4. ทำความสะอาดถ้วยใส่อาหารเม็ด
5. ล้างถาดรองขี้นกใต้กรง
6. ให้อาหารและน้ำนกเหมือนเดิม
7. ให้นกอาบน้ำ เมื่อนำนกไปเก็บไว้ในที่ร่ม ก็ให้นำกล่องพลาสติกหรือขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านก ตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้ขวดแบบสเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก จากนั้นนกก็จะเคยชินและอาบน้ำเองได้ เมื่อนกอาบน้ำเสร็จก็จะไซร้ขน เพื่อทำให้ขนสะอาดและแห้งไม่คันตัว แล้วก็เทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งไป แล้วคว่ำขันลง ทิ้งขันอาบน้ำนี้ไว้ในกรง นกเมื่อได้อาบน้ำแล้วจะมีความสุข มีอารมณ์ดีแจ่มใส และร้องเพลงได้ดีเหมือนคนคือถ้าได้อาบน้ำก็จะรู้สึกสบายตัว
8. ให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม ในช่วงเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ซึ่งจะเป็นแดดอ่อน ๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดในช่วงเข้าและช่วงเย็น เพราะแสดงแดดมีวิตามินดีทำให้กระดูกของนกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิทเมื่อได้ตากแดดขนก็จะฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น
9. หลังจาก 16.00 น. ในช่วงใกล้ค่ำ ให้เก็บนกเข้าบ้าน ปิดผ้าคลุมกรงนกจะได้หลับพักผ่อน เวลานกนอนจะชอบความสงบ ไม่ชอบให้มีเสียงรบกวน

การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน
หลังจางที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด
ควรเปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก
ให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแล ความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้องเปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัดขนอ่อน บนลำตัวออกและมีอาการซึม
ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่นได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อนได้เต็มที่
ก่อนถึงวันแข่งขัน1-2วันให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

การแข่งขันนกกรงหัวจุก
ปัจจุบันการแข่งขันนกกรงหัวจุกมี 2 รูปแบบคือ แบบสากล กับ แบบทั่วไปหรือแบบสี่ยก

การแข่งขันแบบสากล
การแข่งขันแบบสากลส่วนใหญ่จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร
ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะพิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่งรอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอนให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ
รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนนหลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป

การแข่งแบบ 4 ยก
การแข่งขันแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นในแถบจังหวัดชายแดนไทยมาเลเชีย ก่อนจะเริ่มเป็นที่นิยิมขึ้นมาทางภาคใต้ตอนล่าง และแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
การแข่งขันนกกรงหัวจุกประเภทนี้นิยมแข่งการแข่งขันออกเป็น 5 ยก ให้ใช้ยกที่ 1-4 ในการคัดเลือกนกออก และในยกที่ 5 คือยกสุดท้ายเป็นช่วงเวลาในการชิงความเป็นหนึ่งในสนามแข่ง กรรมการที่ใช้ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน โดยมีการจัดแบ่งหน้าที่กัน โดย 2 คนทำหน้าที่ดูว่านกตัวใดร้องหรือไม่ร้องบ้าง อีก 1 คนจะคอยให้คะแนนที่ร้อง โดยถ้านกร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ไม่ร้องให้ 4 คะแนน
ในสนามหนึ่งๆ จะแบ่งล๊อคเป็น 2 ล๊อค กรรมการจะมี 2ชุด เริ่มเดินวนจากซ้ายสุดและขวาสุดเข้าหากัน เมื่อให้คะแนนล๊อคของตนเสร็จก็จะเปลี่ยนไปให้คะแนนในล๊อคถัดไป กรรมการแต่ละท่านจะใช้เวลาเพียง 1 นาที ในการให้คะแนนนกในล๊อคตรงหน้าของตน เมื่อครบ 1 นาที จะมีสัญญาณนกหวีดดังขึ้น การให้คะแนนวิธีนี้จึงได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐาน ส่วนหลักการให้คะแนนก็มีต่อไปนี้
1. นกที่ร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ส่วนนกที่ไม่ร้องหรือร้องไม่ถึง 3 พยางค์ให้ 4 คะแนน
2. นกที่จิกกรรมการ จะให้ 6 คะแนน
3. ลีลาดี รูปร่างดี ไม่มีคะแนนให้
เมื่อกรรมการแต่ละท่านให้คะแนนนกทุกตัวครบแล้วก็จะติดผลคะแนนบนบอร์ด ให้เจ้าของนกทราบ นกตัวใดได้ไม่ถึง 20 คะแนน ถือว่าตกรอบไปตามระเบียบ
ในรอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะดูเฉพาะนก 2 ตัว ตรงหน้าของตนเท่านั้น โดยใช้เวลา 1 นาทีเท่าเดิม ในการพิจารณาให้คะแนนเสียงร้อง การนับดอกโดยหนึ่งดอกก็นับตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป เมื่อสิ้นสุด 1 นาที จะมีสัญญานนกหวีดดังขึ้นเหมือนเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดการให้คะแนนของกรรมการแต่ละท่านพร้อมๆ กัน ในการสรุปคะแนนรอบชิงกรรมการนิยมนับคอกว่านกตัวใดจะมีคะแนนเยอะกว่า หรือถ้าหากตัวใดจิกต่อหน้ากรรมการก็จะตัดสินให้นกตัวนั้นชนะไปเลย แต่ก็ต้องมีการนับดอกไปจนกว่าจะหมดเวลาเพื่อไม่ให้มีการเสมอกัน ในกรณีที่มีนกจิกใส่หน้ากรรมการมากกว่า 1 ตัว กรรมการจะตัดสินโดยการนับดอกใส่เข้าไปด้วย ซึ่งการแข่งขันนกแบบ 4 ยก นี้จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของความสวยงามแต่จะเน้นไปในการลองน้ำเสียงเพลงร้องมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีการประกวดประชันหรือโชว์กรงด้วย ว่ารูปทรงของกรงนกที่นำมาเข้าประกวดสวยงามมีลวดลาย หรือมีรูปร่างที่แปลกตา และมีราคาแพงอย่างไร
โดยนกกรงหัวจุกที่มีสุขภาพดีก็จะร้องได้ทั้งวัน ยกเว้นนกที่ป่วย แต่การจะร้องได้เป็นเพลงสั้นหรือยาวได้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน อาทิ การฝึกสอน และอารมณ์ของนก นกกรงหัวจุกตัวผู้จะร้องได้เป็นเพลงยาวๆ นกกรงหัวจุกตัวเมียจะร้องได้ไม่เป็นเพลง ร้องได้เป็นคำสั้นๆ ในเวลาที่นกกรงหัวจุกร้อง จะมีลักษณะดังนี้คือ ปากจะอ้าเต็มที่ ขนคอสีขาวจะพองออกมาดูสวยงาม ขาที่จับคอนเกาะจะเหยียด ลำตัวจะตั้ง หางจะสั่นและกระดกเข้าหาคอนที่เกาะ เหล่านี้เป็นต้น

กฏหมายเกี่ยวกับนก
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า
"ผู้ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
-
หัวจุก
-
สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9
การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน


หลังจางที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด
ควรเปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก
ให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแล ความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้องเปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัดขนอ่อน บนลำตัวออกและมีอาการซึม
ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่นได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อนได้เต็มที่
ก่อนถึงวันแข่งขัน1-2วันให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้
เคล็ดลับการดุนกกรงหัวจุก

1.เลือกนกกรงหัวจุกอย่างไรเมื่อไม่มีโอกาสได้ยินเสียง... ท่านที่ซื้อนกป่าหรือนกใหม่ๆที่ยังไม่คุ้นคน บางทีก็ไม่ทราบว่าจะเลือกนกลักษณะอย่างไร จากการบอกเล่าของท่านผู้รู้หลายท่านตรงกันแล้ว สรุปนกที่มีลักษณะดังต่อไปนี้มีโอกาสที่จะเป็นนกที่ดี...เรียกง่ายๆว่าการดูโหวงเฮ้งนก(ความจริงเป็นการเรียกที่ผิด เพราะคำว่า"โหวง"ในภาษาจีนแปลว่า...ห้า โหวงเฮ้ง แปลว่าลักษณะดี 5 ประการ...แต่ของนกกรงหัวจุกนั้นมีถึง 20 ข้อ) ก่อนอื่นต้องสำรวจดูว่านกตัวนั้นมีอวัยวะภายนอกครบทุกส่วนหรือไม่... นิ้วด้วนนิ้วขาด ขาเก พิการก็ไม่ต้อดูอย่างอื่นต่อ... เอาล่ะคราวนี้ก็พิจารณาตามนี้ครัท่าน. ดูที่รูปร่าง นกกรงหัวจุกที่ดีจะต้องมีรูปร่างที่สนับสนุนการร้องเพลง หมายความว่า นกนั้นจะต้องมีรูปร่างยาวคล้ายทรงปลีกล้วย เวลายืนหัวไหล่ยกสูงท้ายต่ำ เวลาหมอบก็ยัรักษารูปทรงปลีกล้วยไว้ได้ ดูที่ปาก ปากนกที่ร้องมากๆ...ปากเบาๆ... ปากมักจะไม่ยาวมากโคนปากจะหนา โครงสร้างจะแข็งแรง ปลายปากจะงุ้มเล็กน้อย ดูที่รูจมูก นกที่ร้องเสียงกว้างมีแกนเสียง รูจมูกจะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมยาวๆ ดูที่ตา จุดที่ตั้งของตาต้องอยู่ไม่ งโคนปากมากนัก นกที่ดุดันนัยน์ตาจะกลมใส มีแวว หากมองใกล้ๆจะเห็นตาดำเล็กๆ ดูที่แก้ม แก้มแดงใต้ตาต้องชัดเจน สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลส่วนแก้มที่ขาวต้องมีลักษณะคล้ายเม็ดแตงยาวใหญ่นูน และสีขาวชัดเจนนกยิ่งแก้มขาวยาวเพลงร้องจะยิ่งยาว ดูที่หัว...หัวโต คางและใบหน้ากว้าง ดูที่จุกหรือขนบนหัว จะหนา โคนจุกกว้าง ปลายจุกโค้งไปด้านหน้าหรือตรงขึ้นฟ้า แต่อย่าให้ลู่ไปด้านหลังแบบถาวร(นกจุกโค้งไปด้านหน้าเวลาตกใจกลัวจุกก็สามารถลู่ไปข้างหลังได้ แต่ไม่นานก็จะกลับมาโค้งตามเดิม ผิดกับนกที่จุกลู่ไปข้างหลังอย่างถาวร) ดูที่ปีก ปีกเป็นอวัยวะสำคัญในการสนับสนุนการร้อง รวมไปถึงลีลาในการวิ่งร้อง ลักษณะปีกที่ดีต้องยาวเลยโคนหางที่มีบัวแดงใต้หาง หัวปีกต้องยกอย่างหยิ่งผยอง ดูที่หาง หางนกกรงหัวจุกที่ดีจะต้องยาวประมาณ ยาวมากก็ไม่ดี ที่สำคัญต้องรวบซ้อนกันในขณะยืดคอน หากต้องการนกที่ดุดันต้องเลือกนกที่อดทนมีพลัง ดูที่อก ต้องมีลักษณะกว้างเพื่อพลังในการร้อง นกอกกว้างจะเป็นนกที่อดทนมีพลัง ดูที่แข้ง ต้องมีลักษณะใหญ่หนาแข็งแรงเกล็ดแข้งเงาเป็นมัน ดูที่นิ้ว ต้องมีเกล็ดที่หนาแข็งแรงเงามัน ไม่คดไม่เก หรือบิดเบี้ยว ทั้งนี้เพื่อการเกาะยึดคอนให้มั่นคงเพื่อสมาธิในการร้อง นกที่เกาะไม่มั่นคงจะไม่มั่นใจในการร้อง ดูที่บัวแดง คือขนสีแดงหรือส้มที่อยู่ใต้โคนหางนกหรือหางนกที่ยังใหม่หรือยังไม่ได้เลี้ยง ขนส่วนนี้จะเป็นสีแดงสด ส่วนนกที่เลี้ยงแล้วสีจะแดงน้อยลงจนกลายเป็นสีส้มอ่อนๆ ลักษณะอาการนกที่มีอาการครางในลำคอเป็นเสียงเบาๆตลอดเวลาจะเป็นนกที่สู้นก นกที่มีขนขอพองจะเป็นนกที่พร้อมรบ นกป่า หรือนกใหม่ที่ยังไม่คุ้นคน ยังบินดิ้นรน ให้เลือกนกตัวที่ดิ้นแล้วใช้อุ้งตีนเกาะซี่กรงตลอดเวลานกแบบนี้ฝึกให้เชื่องง่าย...อย่าเลือกนกที่เวลาตื่นดิ้นแล้วเอาปากเอาหน้าซุกเข้าซี่กรง จนทำให้เกิดบาดแผลหน้าบนหน้าและโคนปาก นกแบบนี้เลี้ยงเชื่องยากเพราะไม่มีสมาธิ นกใหม่บางตัวที่แยกออกมาใส่กรงเดี่ยว จะมีการร้องเรียก 1 คำ หรือ 2 คำให้สังเกตเสียงร้องว่าหนากว้างและใสหรือไม่ และถ้าร้องเรียกถี่ๆก็มีสิทธิ์ที่จะได้นกปากเบา อย่าเลือกนกที่หอบตัวโยนอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ไม่ตกใจอะไรก็หอบ นกแบบนี้มีระบบเดินหายใจไม่ดี แม้จะร้องเพราะสำนวนดี ก็ไม่สามารถยืนระยะในการร้องได้ อย่าเลือกซื้อนกในขณะที่นกป่วย แต่เจ้าของบอกว่าเป็นนกดี... อย่าซื้อนกที่ยืนขนพองตลอดเวลา... 2.ในหนึ่งวันต้องทำอะไรให้นกกรงหัวจุกอะไรบ้าง... ผู้เลี้ยงนกจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องตื่นแต่เช้า... เวลาเช้านั้นเป็นช่วงเวลาที่อากาศสดชื่นทุกวัน นกในธรรมชาติชื่นชอบอากาศในตอนเช้ามากนกเลี้ยงในกรงก็เช่นกัน หากเจ้าของได้นำนกออกไปแขวนในตอนเช้า นกจะได้รับบรรยากาศที่สดชื่นพร้อมอากาศดีรับรองได้ว่ามันจะเปิดเพลงสวยๆให้ท่านฟังแน่นอน
บันทึกการเข้า

ในหนึ่งวันต้องทำอะไรให้นกกรงหัวจุก

ในหนึ่งวันต้องทำอะไรให้นกกรงหัวจุกอะไรบ้าง... ผู้เลี้ยงนกจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องตื่นแต่เช้า... เวลาเช้านั้นเป็นช่วงเวลาที่อากาศสดชื่นทุกวัน นกในธรรมชาติชื่นชอบอากาศในตอนเช้ามากนกเลี้ยงในกรงก็เช่นกัน หากเจ้าของได้นำนกออกไปแขวนในตอนเช้า นกจะได้รับบรรยากาศที่สดชื่นพร้อมอากาศดีรับรองได้ว่ามันจะเปิดเพลงสวยๆให้ท่านฟังแน่นอน เวลาเช้านั้นหมายถึงช่วงประมาณหกโมงเช้าถึงเจ็ดโมงเช้า... เริ่มต้นด้วยการเปิดผ้าคลุม เขียนไว้ในฉบับนกเพลงเสนาะโลก.. ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกนั้นขาดผ้าคลุมไม่ได้... เลี้ยงดีอย่างไรไม่มีผ้าคลุมก็เสร็จ... เปิดผ้าแล้วเอาหนอนมาล่อก่อนอื่นเลย เพื่ออะไรเพื่อสร้างนิสัยให้นกร้อง เมื่อมันร้องเรียกหรือร้องเพลงเป็นสำนวนก็ตามให้หนอนมันเลย ทำอย่างนี้ทุกวัน เวลาที่จะแข่งขันเปิดผ้าขึ้นมามันจะร้องโดยเฉพาะช่วงแต่งนกในยกชิง จากนั้นก็นำไปทำความสะอาด การทำความสะอาดนั้นมี 2 แบบ แบบแรกคือ การทำความสะอาดรายวัน คือ การล้างกรงขูดขี้ออกจากถาดรองการทำความสะอาดแบบนี้ไม่ต้องนำนกออกจากกรงฯ เวลาที่ทำในช่วงเช้าอย่างที่บอก ทำทุกเช้า... อีกแบบเรียกว่า...การล้างแบบชุดใหญ่ ล้างแบบนี้ 1 อาทิตย์ล้าง 1 ครั้ง และต้องนำนกย้ายจากกรง (แต่อย่าจับตัวนกเป็นเด็ดขาด...นกกรงฯนั้นไม่จำเป็นจริงห้ามจับตัวนกเด็ดขาด...) ชื่อแบบก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น ชุดใหญ่ ดังนั้นเมื่อเอานกออกจากกรงแล้ว ก็จัดการเอาถ้วยน้ำ ถ้วยอาหารออกจากกรงให้หมด รวมทั้งกล้วยหรือผลไม้เอาเป็นว่าจนเหลือแต่กรงเปล่าๆ จากนั้นก็ลงมือขัดสีฉวีวรรณทั้งกรง จะใช้อะไรเป็นเครื่องมือก็แล้วแต่จะถนัด จะเป็นแปรงสีฟัน แปรงทองเหลืองขนาดเล็ก หรือเกรียงเหล็ก ทำอย่างไรก็ได้ให้สะอาดทุกซอกทุกมุมเป็นพอ...แต่ที่สำคัญอย่าให้รุนแรงจนถึงขั้นกรงเสียหายลายหัก... เมื่อทำความสะอาดกรงเสร็จ ก็นำอาหาร ผลไม้ น้ำ ชุดใหม่ใส่ในกรง พร้อมกับติดตั้งถาดรองขี้นกให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำนกกลับเข้ากรง... ในช่วงเช้านี้นกจะหิวมากเป็นพิเศษ เพราะไม่ได้กินมาทั้งคืน.. ดังนั้นนกเกิดความหิว และจะกินอย่างเอร็ดอร่อย อาหารที่ให้เป็นผลไม้ กล้วย (กล้วยที่ให้นกกินนั้นที่นิยมและชอบ จะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหินของทางใต้ ส่วนกล้วยอื่นอย่างกล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยหักมุก ไม่นิยมและที่สำคัญนกไม่ชอบ) มะละกอ บวบ และส้ม ไม่ใช่ให้หมดทุกอย่างพร้อมกันนะ ให้แค่ 2 อย่างเวียนกันไปโดยมีกล้วยเป็นตัวยืน จะสังเกตเห็นว่ามีวันที่ให้กล้วยและมะละกอถึง 3 วัน เป็นเพราะกล้วยเป็นอาหารหลัก และมะละกอก็เป็นผลไม้ที่มีสารอาหารมาก รวมทั้งวิตามินซีที่ช่วยให้นกไม่เป็นหวัดอีกด้วยทั้งยังเป็นยาระบายให้นกอีกด้วย ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำนกออกกราดแดด หรือเอาไปซ้อมกับนกอื่นๆในกรณีที่เป็นนกที่ร้องเป็นสำนวน และสู้นกแล้ว...ตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00 น. ไปจนกระทั่งถึงเที่ยง จากนั้นก็เก็บนกเข้าร่มเปลี่ยนน้ำ เพราะน้ำที่โดนแดดแล้วจะเป็นน้ำสุกๆดิบๆไม่ดีต่อเสียงนก เปลี่ยนเป็นน้ำใหม่จะดีกว่า ผลไม้และอาหารเม็ดก็เปลี่ยนด้วย เพราะตากแดดนานๆคุณค่าอาหารเปลี่ยนไปหมดแล้ว... จากนั้นก็ให้นอน2ตัว แล้วปล่อยให้นกได้พักผ่อน ถึงเวลาประมาณบ่ายสามโมงก็เอานกมาอาบน้ำ อุปกรณ์ในการอาบน้ำก็มีอ่างอาบน้ำนก จะเป็นพลาสติก หรือเซรามิกก็ได้แล้วแต่ว่านกจะชอบแบบไหน... เอาน้ำใส่ให้เต็มแล้วนำกรงนกไปตั้งหรือแขวนแล้วแต่สะดวก ให้ดีควรตั้งในที่มีแดดรำไร อย่าให้แดดจัดเพราะจะทำให้ชมนกกรอบแดดได้ นี่
นกผลัดขน...ทำให้เปลี่ยนนิสัย...เกิดจากคนหรือว่านกกันแน่ ? ข้อความ : เมื่อนกผลัดขนเสร็จนกบางตัวอาจจะเล่นได้ไม่เหมือนเดิม(แย่ลงหรือดีขึ้น)นั้นเกิดจากอะไร การที่นกผลัดขนแต่ละครั้งบางท่านก็ให้ความสำคัญมากบางท่านก็ไม่ให้ความสำคัญเลย แต่ขนนกมีความสำคัญมีผลต่อการแข่งติดหรือไม่ติดได้ดั่งนั้นเราจะต้องปฏิบัตินกแข่งอย่างไรเมื่อนกผลัดขน นกแข่งที่อยู่ในช่วงนี้จะมีสภาพไม่ต่างกับคนพึ่งฟื้นจากไข้(นกไม่ได้เป็นไข้แต่เป็นการเปรียบเทียบ) สภาพร่างกายนกจะอ่อนแอกว่าปกติ เพราะเซลต่างๆภายในร่างกายนกกำลังสร้างขนที่ผลัดออกไปเข้ามาแทนที่ ดังนั้นนกต้องการสารอาหารที่จะมาสร้างขนที่งอกใหม่มากกว่าปกติที่เคยได้รับ แต่นกแข่งอยู่ในกรงเลี้ยงอาหารการกินจะมาจากคนเลี้ยงที่ให้ หลายคนที่ปฏิบัตินกแข่งช่วงตอนผลัดขนแบบปกติ อาหารการกินก็ให้เหมือนเดิมแล้วนกจะได้รับสารอาหารจากไหนมาเสริมสร้างขนที่งอกใหม่ได้ บางครั้งอาจทำให้ขนที่งอกใหม่ไม่สมบูรณ์ มีสีซีด บิดงอ ไม่มีความเงา(ไม่มีไขมันเลี้ยงขน) เหตุการณ์แบบนี้เราจะสังเกตุได้ง่ายกับลูกนกที่เพาะได้ในกรงเลี้ยง(แม่นกหาอาหารในกรงเลี้ยงให้ลูกนกได้ไม่เท่ากับหาเองจากธรรมชาติ)เราจะพบว่าขนลูกนกบางตัวจะมีสีซีด ด่าง (ทำให้หลายคนที่เพาะลูกนกได้หลงดีใจเข้าใจว่าเป็นนกด่าง) แต่ถ้าเป็นนกแข่งที่โตแล้วถ้าได้สารอาหารไม่ครบอาการขนซีดหรือด่างจะไม่เกิด(เกิดน้อยมาก) จะเกิดเป็นในลักษณะขนที่ไม่สวยแทน ขาดความมันเงา(ความมันเงาของขนช่วยสะท้อนความร้อนของแสงอาทิตย์ ทำให้นกทนร้อนได้ดีกว่าขนที่แห้ง กระด้าง)เมื่อเรารู้ว่าสภาพขนมีผลต่อการแข่งขัน ดังนั้นเราต้องปฏิบัติให้ดีที่สุดกับนกในช่วงการผลัดขนด้วย หลักการปฏิบัติกับนกแข่งในช่วงผลัดขนมีดังนี้ 1.อาหารที่ให้ ก็ให้เหมือนเดิมแต่เพิ่มชนิดของอาหารให้นกกินให้มากชนิดที่สุดที่หามาได้โดยให้หมุนเวียนกันไป( กล้วย มะละกอ แตงกวา ลูกตำลึง ลูกไทร ลูกโพ ลูกก้างปลา ส้ม มะเขื่อเทศ หนอน ตั๊กแตน ไข่มดแดง ฯลฯ. ) อาหารเหล่านี้ต้อง สะอาด ใหม่ และสด นะครับ อย่างน้อยสุดต้องเปลี่ยนวันละครั้งและการให้จะต้องให้ปริมาณมากกว่าปกติที่ให้ เช่น หนอน ปกติให้กินวันหนึ่งไม่เกิน 5 ตัว เราจะต้องเพิ่มเป็น 10 ตัวเป็นต้น(ไม่ต้องกลัวว่านกจะอ้วน) 2.อาหารเสริม คืออาหารถุงที่ผลิตขายอยู่เลือกบริษัทที่บรรจุซองน่าเชื่อถือหน่อย ให้ดูความเก่าใหม่ของซองที่ซื้อด้วย(ซองเก่าบางครั้งอาจจะถูกแดดหรือละอองฝนทำให้สารอาหารเสื่อมได้ ดีไม่ดีอาจจะเป็นเชื้อราขึ้นในซองได้)การให้ ให้มากกว่าปกติจนเหลือติดถ้วยที่ใส่(ไม่ต้องเหลือมาก) และก่อนนำนกเก็บ(ก่อนให้นอน)ให้เทอาหารเสริมทิ้ง(ไม่ต้องเสียดาย)แล้วให้ใส่ใหม่ในวันรุ่งขึ้น อาหารเสริมที่เปิดซองแล้วเก็บให้ดีอย่าโดนแดดและน้ำ ทางที่ดีที่สุดเก็บในตู้เย็นเลยปลอดภัยดี(ความเย็นรักษาอาหารได้ดีสุดและในตู้เย็นมีความชื้นต่ำทำให้เกิดเชื่อราได้ยาก) 3.ให้วิตามินเสริม วิตามินเสริมที่นักเลี้ยงนกทุกชนิด(นกแก้ว นกหงห์หยก นกคีรีบูน ฯลน)ยอมรับคือ " น้ำมันตับปลา " เป็นวิตามินที่บำรุงขนนกโดยตรง สกัดได้จากจากตับปลาทะเล น้ำมันตับปลาตัวนี้เป็นตัวเดียวกับที่ให้เด็กกิน มีชนิดที่เป็นเม็ด(น้ำมันตับปลาอยู่ด้านใน)และชนิดที่เป็นน้ำ ให้เราเลือกที่เป็นน้ำ นำมาให้นกกิน ใหม่ๆนกจะกินยากต้องหาวิธีต่างๆ เช่น ชุบกับหนอน ผสมกับน้ำ เป็นต้น 4.การตากแดดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง แสงแดดที่มีวิตามินดี( D )เป็นวิตามินบำรุงขนนั้นคือแสงแดดที่มี รังสีอุลตราไวโอเรต แสงแดดที่มีรังสีนี้จะพบได้ในแดดช่วงอรุณและก่อนพลบค่ำเท่านั้น(ลักษณะลำแสงจะเป็นสีทอง) ช่วงเช้า(ประมาณ 6.00 น. - 7.00 น.) ช่วงพลบค่ำ (ประมาณ 5.00 น. - 6.00 น) ช่วงเวลาที่กล่าวจะมีวิตามินดี( D )มากที่สุด ดั่งนั้นการอุ่นแดดในช่วงเช้า( 6.00 น. - 8.00 น. )และช่วงเย็น( 4.00 น. - 6.00 น. )จะเหมาะกับนกที่กำลังผลัดขนเป็นอย่างมากเราจะเลือกช่วงเวลาใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคนที่เลี้ยง 5.ห้ามนำนกไปไหน( ห้ามลงแข่งโดยเด็ดขาด หรือพาไปในสนามซ้อม หรือพาไปแล้วแขวนข้างราวซ้อม หรือแม้แต่ให้เคียงนกตัวอื่นในบ้านก็ไม่ควรจะทำ ) 6.อื่นๆให้ปฏิบัติเหมือนเดิมที่เคยปฏิบัติ เช่น แขวนในร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาบน้ำได้ปกติ คลุมผ้าตอนกลางคืน ฯลฯ. เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตอนช่วงนกผลัดขนนั้นเราต้องดูแลนกแข่งของเราอย่างพิเศษกว่าปกติ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติให้ดีที่สุดแล้ว ขนนกที่ขึ้นมาใหม่อาจทำให้ขนมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ได้ ถ้าจะให้ขนมีความสมบูรณ์อีกครั้งเราจะต้องรอให้นกผลัดขนอีกหนึ่งฤดูกาล (ประมาณ 1 ปี )บางท่านไม่รู้สาเหตุที่นกแข่งของเค้าเปลี่ยนไปหลังจากการผลัดขนเสร็จใหม่ๆ(ไม่รู้ว่าขนนกที่ผลัดมาใหม่ไม่สมบูรณ์)เมื่อนำมาเล่นนกเล่นได้แย่ลง ก็พยายามที่จะหิ้วให้มากขึ้น หรือตากแดดให้มากขึ้น หรือจะหาวิธีการใดๆก็ตามที่ทำให้นกดีขึ้น เมื่อนกยังเล่นไม่ดีขึ้นดั่งใจบางท่านใจร้อนอาจจะขายนกตัวนั้นไปเลยทีเดียวก็ได้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นให้เห็นเสมอๆ จากสาเหตุข้างบน เวลานกผลัดขนใหม่แต่ละครั้งนกเล่นได้ไม่เหมือนเดิมนั้น( บางตัวเล่นได้ดีขึ้น บางตัวเล่นได้แย่ลง บางตัวเล่นได้เหมือนเดิม) เหตุการณ์ที่เกิดเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่าไม่ได้เกิดจากการที่นกเปลี่ยนนิสัยไป แต่คนที่เลี้ยงนกต่างหากที่ทำให้นกเปลี่ยนไปอย่างนั้น ในเมื่อเรามองหาแต่นกดีๆมาเลี้ยงแต่ตัวเราไม่เคยมองตัวเราว่าจะเลี้ยงนกให้ได้ดีเพียงใดแล้วก็ คุณค่านกดีตัวนั้นก็ไม่ต่างจากนกแข่งทั่วๆไป การที่นกเล่นได้แย่ลง(เมื่อก่อนเล่นดี)ไม่ใช่เกิดจากการเลี้ยงวิธีผิดๆในช่วงผลัดขนเท่านั้น ยังขึ้นกับสาเหตุอื่นๆอีกมาก แต่ทุกสาเหตุเราไม่สามารถโทษนกได้เลยเกิดจากคนเลี้ยงทั้งหมดที่กล่าวมาเช่นนี้ก็เพราะว่านกแข่งนั้นอยู่ในกรงเลี้ยง(ไปไหนไม่ได้) จะกินจะนอนจะไปไหนเจ้าของนกเท่านั้นเป็นผู้กำหนด ถือว่ากำหนดชะตาชีวิตนกตัวนั้นเลยก็ว่าได้ ในเมื่อเราเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของนกแล้ว สิ่งใดๆที่ทำให้นกเล่นได้แย่ลง เราจะโทษใครอื่นไม่ได้ นอกจากตัวเราเองเท่านั้น จาก : บ้านนา(พัทลุง) - 21/07/2002 18:15 ขอให้ผู้มาเยี่ยมชมเข้าใจว่า ธรรมชาติของนก สิ่งที่มนุษย์รู้ มีน้อยกว่าที่มนุษย์ไม่รู้มากนัก สิ่งที่รู้ เทียบเท่ากับ ทราย เม็ดเดียว บนหาดทรายที่กว้างใหญ่ไพศาล อย่าไปยึดมั่นว่า ข้อมูลคนนั้นเชื่อถือได้ ของคนนี้เชื่อถือไม่ได้ ขอให้ท่านนำมาประมวลเข้าด้วยกัน ความรู้ใหม่ อาจ แทนที่ความรู้เก่า หรือ ต่อยอดความรู้เก่าออกไป ธรรมชาติของมนุษย์ มักอยากรู้อยากเห็น ค้นคว้าหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา ความรู้ใหม่ๆพอกพูนขึ้นทุกวัน ไม่หยุดนิ่ง ขอเพียงนำมารวบรวมไว้ เพื่อเราจะเข้าใจ นก แต่ละชนิดให้ดียิ่งขึ้น เพื่อที่สุดแล้ว จะได้รู้วิธีที่จะรักษา พวกมันไว้ เป็นเพื่อนชีวิต ของเราตลอด
เป็นอีกสาเหตุที่หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมนกก็อาบน้ำทุกวันแต่ขนไม่สวย... เมื่อนกอาบน้ำเสร็จ แต่งตัวจนขนแห้งเรียบร้อยแล้ว (ให้แน่ใจว่าแห้งเพราะหากไม่แห้งแล้วเก็บนกเข้าบ้านนกจะเป็นหวัดได้ง่ายๆ) จากนั้นประมาณเวลา 17.00 นาฬิกา หรือ 5 โมงเย็นก็เก็บคลุมผ้าเข้านอน...ก่อนคลุมผ้าเอาผลไม้ออกให้หมด จะเหลือไว้ก็เพียงอาหารเม็ดและน้ำเท่านั้น.. ถามว่าทำไมจึงต้องเอาผลไม้ออก คำตอบก็คือ หากมีผลไม้อยู่ในกรงที่คลุมผ้าทั้งคืน อากาศที่อบในผ้าคลุมจะทำให้ผลไม้สร้างก๊าซ ซึ่งสามารถส่งผลให้ตาเจ็บได้ อีกประการผลไม้อาจจะเป็นสัตว์รบกวนอย่าง หนู แมลง หรือมด ให้มาที่กรงได้ ทางที่ดีป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า...